Page 4 - ผ้าห่อถักทอเชื่อมสายบุญ
P. 4

เวลาที่บวชนั้น เหล่ากุลบุตรจะได้เล่าเรียนเขียนอ่านศิลปวิทยาแขนงต่าง ๆ ทางโลก ในขณะ

            เดียวกันก็ได้ศึกษาพระธรรมค�าสอนทางพระพุทธศาสนาไปพร้อมกัน ดังนั้นฝ่ายชายจึงมีความรู้
            ความสามารถทั้งด้านอักขระและพระพุทธศาสนาพอที่จะจารคัมภีร์ใบลานถวายไว้เป็นพุทธบูชา
            ซึ่งนับว่ามีอานิสงส์มากมายจะนับจะประมาณมิได้





                  ส�าหรับฝ่ายหญิงนั้น ค่านิยมของสังคมไม่
            สนับสนุนให้เล่าเรียนศิลปะและวิทยาการต่าง ๆ

            นอกจากได้รับการอบรมให้เพียบพร้อมเป็น
            กุลสตรีที่มีฝีมือทางด้านการบ้านการเรือน

            ท�าให้สตรีในสมัยนั้นไม่มีความรู้ อ่านไม่ออก
            เขียนไม่ได้ และยังมีข้อก�าหนดมิให้สตรีจับต้อง
            มัดคัมภีร์ใบลาน ด้วยถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์

            ที่อนุญาตให้เฉพาะพระภิกษุ สามเณร และบุรุษ
            เท่านั้นที่จับต้องได้ แม้แต่การผ่านเข้าไปใน
            หอไตรก็เป็นเรื่องต้องห้ามเช่นกัน                   แต่ด้วยแรงศรัทธาที่มีต่อพระรัตนตรัย

                                                         และความปรารถนาที่จะสั่งสมบุญในการ
                                                         สร้างสรรค์คัมภีร์ใบลานไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า

                                                         ฝ่ายชาย ฝ่ายหญิงจึงอาศัยความสามารถด้าน
                                                         หัตถกรรมที่ตนมีทอผ้าขึ้นมาเพื่อท�าเป็น

                                                         ผ้าห่อมัดคัมภีร์ถวายเป็นพุทธบูชา อีกแนวคิด
                                                         หนึ่งกล่าวว่า การทอผ้าเพื่อห่อคัมภีร์ดังกล่าว
                                                         ก็เพื่อลดทอนผลแห่งกรรมที่ตนต้องคร่าชีวิต

                                                         หนอนไหมเป็นจ�านวนมากในการทอผ้านุ่งห่ม
                                                         จึงทอผ้าห่อคัมภีร์ขึ้นเพื่ออานิสงส์ผลบุญของ

                                                         ตัวผู้ทอเอง เป็นการขอขมาและอุทิศส่วนกุศล
                                                         แก่สรรพชีวิตที่ถูกท�าลายไปเพราะการทอผ้า
                    ผ้าห่อคัมภีร์แบบมีไม้ไผ่สอดสลับ



                  ผ้าห่อคัมภีร์มีประเภทที่ทอด้วยเส้นฝ้ายหรือไหมล้วนและแบบที่มีไม้ไผ่สอดสลับ ผ้าที่ทอ
            ในแต่ละท้องถิ่นมีวิธีการในการใส่ลวดลายและมีชื่อเรียกเฉพาะแต่ละท้องถิ่น เช่น ผ้ามัดหมี่ ผ้าจก
            ผ้าขิด ผ้าแพรวา ผ้ายกดอก เป็นต้น ส่วนผ้าห่อแบบมีไม้ไผ่คั่นก็สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมความเชื่อ

            ของกลุ่มคนท้องถิ่น อาทิ กลุ่มวัฒนธรรมไทยวน ไทเขิน ไทลื้อ และไทใหญ่ ที่มีความเชื่อว่า ไม้ไผ่
            ที่สอดสลับจะเป็นเสมือนขั้นบันไดทอดน�าพาผู้ถวายสู่สวรรค์เมื่อถึงคราวละโลก



                                                                     มกราคม ๒๕๖๐ อยู่ในบุญ   43



                                                     43
   1   2   3   4   5