Page 2 - ลังกาทวีป ประทีปพุทธธรรม (ตอนที่ ๑)
P. 2

บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในพงศาวดารที่

                                                         เก่าแก่ของลังกา คือพระคัมภีร์ทีปวงศ์และพระ-
                                                         คัมภีร์มหาวงศ์ ที่บันทึกต�านานการประดิษฐาน
                                                         พระพุทธศาสนาในลังกาทวีป ซึ่งนักวิชาการ

                                                         มีความเห็นว่า “ทีปวงศ์” น่าจะแปลว่า วงศ์อัน
                                                         รุ่งเรืองเช่นดวงประทีปหรือวงศ์อันเป็นประดุจ
                                                         ดวงประทีป อันหมายถึงวงศ์แห่งพระพุทธเจ้า

                                                         ต้นฉบับพระคัมภีร์ทีปวงศ์เป็นอักษรสิงหล
                                                         ภาษาบาลี  ไม่ปรากฏหลักฐานว่ารจนาขึ้น

                                                         เมื่อใดและใครเป็นผู้ประพันธ์ แต่เชื่อว่าเป็น
            ประชากรส่วนใหญ่ของศรีลังกาเป็นชาวสิงหล       ผลงานที่มีจุดเริ่มต้นจากการสืบทอดการทรงจ�า
            ราวร้อยละ ๗๐ ของประชากรทั้งหมดนับถือ         แบบปากต่อปาก ที่เรียกว่า “มุขปาฐะ” จากนั้น

            พระพุทธศาสนา ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องจากการ    จึงบันทึกเรื่องราวเป็นลายลักษณ์อักษรโดย
            หยั่งรากลึกของพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง     ผู้ประพันธ์หลายคน ภาษาที่ใช้ในการประพันธ์

            มายาวนานหลายพันปี  ดังปรากฏเรื่องราว         จึงไม่สละสลวยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเท่าที่ควร



                                                                     ต่อมา  ราวคริสต์ศตวรรษที่  ๕
                                                             พระมหาเถระมหานามะแห่งอนุราธปุระ

                                                             ได้รจนาพระคัมภีร์มหาวงศ์ขึ้นอีกเล่มหนึ่ง
                                                             ในรูปแบบคาถา โดยอาศัยข้อมูลจากแหล่ง
                                                             เดียวกับพระคัมภีร์ทีปวงศ์ โดยเฉพาะ

                                                             ข้อมูลจากคัมภีร์สีหลมหาวังสัตถกถา ของ
                                                             คณะสงฆ์ส�านักมหาวิหาร  ซึ่งถือเป็น
                                                             มหาวิทยาลัยอันยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนา

                                                             ฝ่ายเถรวาท ดังนั้นเนื้อหาของพระคัมภีร์
                                                             ทีปวงศ์และพระคัมภีร์มหาวงศ์จึงเหมือน
                                                             กันมาก มีเพียงล�าดับเรื่องที่แตกต่างกัน

            เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากพระคัมภีร์มหาวงศ์ถือเป็นวรรณกรรมภาษาบาลีที่มีความส�าคัญที่สุด
            เล่มหนึ่ง ต้นฉบับเดิมอักษรสิงหลจึงได้รับการถ่ายถอด (transliterate : แปลงตัวเขียนจากภาษา

            หนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง) เป็นอักษรต่าง ๆ รวมทั้งอักษรขอม ซึ่งเป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์ที่ในอดีต
            มักใช้บันทึกเรื่องราวทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ฉบับที่ค้นพบโดยส�านักหอสมุดแห่งชาติ
            กรมศิลปากร เป็นพระคัมภีร์ทีปวงศ์ฉบับรองทรง มีอายุอยู่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธ-

            ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เนื้อหาของพระคัมภีร์เริ่มต้นด้วยการเสด็จเยือนลังกาทวีปของพระ-
            สัมมาสัมพุทธเจ้า ๓ ครั้ง ดังนี้

                                                                     สิงหาคม ๒๕๖๐ อยู่ในบุญ  55



                                                     55
   1   2   3   4   5   6